Support : 02-136-9557

ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler System)

9 กรกฎาคม 2567
ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler System) เป็นระบบดับเพลิงที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมเพลิงไหม้ได้ดีมาก ดังนั้นในบทความนี้จะขอคร่าวถึงระบบการดับเพลิงชนิดนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ครั้งหนึ่งแล้วซึ่งท่านผู้อ่านสามารถย้อนกลับไปอ่านได้ในบทความเรื่อง “ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติคืออะไร” ซึ่งปัจจุบันมีการติดตั้งใช้กันแพร่หลายทั่วโลก เนื่องจากสามารถควบคุมเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นได้ทันทีขณะที่เพลิงยังมีขนาดเล็ก ทำให้เพลิงไหม้หยุดการขยายตัวลุกลาม การเกิดควันไฟก็น้อยลงและเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นอยู่ในพื้นที่จำกัด
ประเภทของหัวกระจายน้ำดับเพลิง
หัวกระจายน้ำดับเพลิงสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ตามประเภทของการตรวจจับความร้อน (Heat Sensing Element) ที่หัวกระจายน้ำดับเพลิง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นแบบโลหะ (Fusible Element)และแบบกระเปาะแก้ว (Glass Bulb) โดยในการตรวจจับความร้อนของแต่ละประเภทนั้น จะมีการกำหนดอุณหภูมิการทำงานของหัวกระจายน้ำดับเพลิงระบุไว้อย่างชัดเจน เพื่อสะดวกต่อการเลือกใช้งานในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน
ในการเลือกอุณหภูมิการทำงานของหัวกระจายน้ำดับเพลิง ให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่ต้องการติดตั้งนั้น สามารถตรวจสอบอุณหภูมิได้จากตาราง


ชนิดของหัวสปริงเกอร์ดับเพลิง

   สปริงเกอร์ดับเพลิง ( Sprinkler ) หรือหัวกระจายน้ำอัตโนมัติ ถือเป็นอุปกรณ์หลักที่มีความสำคัญในระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยน้ำ  สปริงเกอร์ดับเพลิงจะทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อมีเกิดเหตุเพลิงไหม้และมีความร้อนถึงอุณภูมิที่หัวสปริงเกอร์ดับเพลิงกำหนดไว้ โดยจะต้องเลือก หรือ ออกแบบหัวสปริงเกอร์ให้เหมาะสมกับพื้นทีติดตั้ง และ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนด

  สปริงเกอร์ดับเพลิงมีหลากหลายชนิด ตามมาตรฐาน NFPA13 ได้มีการแบ่งประเภทสปริงเกอร์ไว้ถึง 14 แบบ เช่น ESFR, Extend Coverage Sprinkler, Large Drop Sprinkler, Convensional Sprinkler, Open Sprinkler, Standard Spray Sprinkler etc. โดยแต่ละชนิดก็จะมีผลิตภัณฑ์อีกหลาย นอกจากนั้นจะต้องเลือกรูปแบบการติดตั้งตามพื้นที่

ชนิดของหัวสปริงเกอร์ดับเพลิง สามารถแบ่งได้ 4 รูปแบบ

1.สปริงเกอร์แบบหัวคว่ำ (Pendent)
2.สปริงเกอร์ แบบหงาย (Up-right) 
3.สปริงเกอร์แบบติดข้างผนัง (Side-wall)
4.สปริงเกอร์แบบซ่อน (Conceal)


อุณหภูมิสปริงเกอร์ดับเพลิง

1. สีส้ม หรือ สีแดง จะมีอุณหภูมิทำงานอยู่ที่ 57-77 องศาเซลเซียส และให้ติดตั้งในบริเวณที่เพดานมีอุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส

2. สีเหลือง หรือ สีเขียว จะมีอุณหภูมิทำงานอยู่ที่ 79-107 องศาเซลเซียส และให้ติดตั้งในบริเวณที่เพดานมีอุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 66 องศาเซลเซียส

3. สีน้ำเงิน จะมีอุณหภูมิทำงานอยู่ที่ 121-149 องศาเซลเซียส และให้ติดตั้งในบริเวณที่เพดานมีอุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 107 องศาเซลเซียส

4. สีม่วง จะมีอุณหภูมิทำงานอยู่ที่ 163-191องศาเซลเซียส และให้ติดตั้งในบริเวณที่เพดานมีอุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 149 องศาเซลเซียส

5. สีดำ จะมีอุณหภูมิทำงานอยู่ที่ 204-246 องศาเซลเซียส และให้ติดตั้งในบริเวณที่เพดานมีอุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 191 องศาเซลเซียส

6. สีดำ จะมีอุณหภูมิทำงานอยู่ที่ 260-302 องศาเซลเซียส และให้ติดตั้งในบริเวณที่เพดานมีอุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 246 องศาเซลเซียส



 

ประโยชน์ของระบบดับเพลิงด้วยน้ำแบบอัตโนมัติ (Sprinkler)
* สามารถทำงานได้อัตโนมัติ เมื่อเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้

* มีส่วนช่วยป้องกันอันตรายครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งอาคารหรือโรงงาน ถ้าติดตั้งอย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

*มีระบบกริ่งสัญญาณเตือนภัย เมื่อติดตั้งพร้อมวาล์วสัญญาณแจ้งเหตุ (Alarm Check Valve) เพื่อให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารสถานที่ หรือผู้ที่รับผิดชอบใน  
อาคารหรือเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ได้ทราบว่ามีเพลิงไหม้เกิดขึ้น และหาทางป้องกันเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างรวดเร็ว

*ช่วยลดความร้อนและดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

*ช่วยลดความเสียหายรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุเพลิงไหม้